การจดทะเบียนสมรส
บุคคลสัญชาติไทยที่มีถิ่นพำนักในประเทศนอร์เวย์และไอซ์แลนด์ ซึ่งประสงค์จะทำการสมรสกับบุคคลสัญชาติไทยหรือบุคคลต่างชาติตามกฎหมายไทย สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล
การจดทะเบียนสมรสไม่มีค่าธรรมเนียม
คุณสมบัติผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
- ชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติไทย
- คู่สมรสมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
- คู่สมรสไม่เป็นบุคคลวิกตจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
- คู่สมรสไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรง หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- คู่สมรสต้องไม่อยู่ในระหว่างสมรสกับผู้อื่น
- หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- ก) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- ข) สมรสกับคู่สมรสเดิม
- ค) มีใบรับรองแพทย์แสดงว่า มิได้ตั้งครรภ์
- ง) มีคำสั่งศาลให้สมรสได้
- กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้มีอำนาจให้ความยินยอม กรณีไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอม ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรสได้
เอกสารที่ต้องใช้ยื่นในการจดทะเบียนสมรส
- คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร https://bit.ly/3VQxoMZ)
- หนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล (ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร https://bit.ly/45uJBtM)
- บัตรประชาชนของคู่สมรสที่มีสัญชาติไทย
- หนังสือเดินทางของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
(คู่สมรสชาวต่างชาติ ต้องยื่นสำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองจากโนตารีพับลิคและ
กระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์/ไอซ์แลนด์ )
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของคู่สมรสที่มีสัญชาติไทย
- สำเนาทะเบียนบ้านในต่างประเทศของคู่สมรสทั้ง 2 ฝ่าย ที่ออกให้เป็นภาษาอังกฤษ
นอร์เวย์
สำเนาทะเบียนบ้านนอร์เวย์ (Bostedsattest)
(ท่านสามารถดูขั้นตอนการยื่นขอ Bostedsattest ทางเว็บไซต์ Skatteetate https://www.skatteetaten.no/en/person/national-registry/certificates-and-information/order-certificates/overview-of-certificates/bostedsattest/)
หรือ
ไอซ์แลนด์
สำเนาทะเบียนบ้านไอซ์แลนด์ (Confirmation of current legal domicile)
(ท่านสามารถดูขั้นตอนการยื่นขอ Confirmation of current legal domicile ทางเว็บไซต์ Registers Iceland https://www.skra.is/english/forms/single-product/?productid=1a8114f0-138b-11e6-943e-005056851dd2)
- หนังสือรับรองความเป็นโสด อายุไม่เกิน 6 เดือนซึ่งออกโดยหน่วยงานราชการที่คู่สมรสถือสัญชาติ ที่ออกให้เป็นภาษาอังกฤษหรือไทยของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
ไทย
หนังสือรับรองความเป็นโสดไทย สามารถขอได้ที่ที่ว่าการเขต/อำเภอ ทั้งนี้ หนังสือรับรองความเป็นโสดดังกล่าวต้องนำไปผ่านการรับรองของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ก่อนนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
(ท่านสามารถดูขั้นตอนการรับรองเอกสารทางลิงก์ https://consular.mfa.go.th/th/publicservice/ ขั้นตอนการรับรองเอกสาร)
นอร์เวย์
หนังสือรับรองความเป็นโสดนอร์เวย์ (Certificate of no impediment to marriage)
(ท่านสามารถดูขั้นตอนการยื่นขอ Certificate of no impediment to marriage ทางเว็บไซต์ Skatteetaten: https://www.skatteetaten.no/en/forms/certificate-of-no-impediment-to-enter-into-marriage--declaration-by-the-bridal-couple/)
ทั้งนี้ หนังสือรับรองความเป็นโสดดังกล่าวต้องนำไปผ่านการรับรองของกระทรวงต่างประเทศนอร์เวย์ (Utenriksdepartementet (UD) ก่อนนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
(ท่านสามารถดูขั้นตอนการรับรองเอกสารทางลิงก์ https://www.regjeringen.no/en/dokumenter/legalisation-mfa/id752911/)
ไอซ์แลนด์
หนังสือรับรองความเป็นโสดไอซ์แลนด์ (Certificate of marital status)
(ท่านสามารถดูขั้นตอนการยื่นขอ Certificate of marital status ทางเว็บไซต์ Island.is: https://island.is/en/gifting-erlendis)
ทั้งนี้ หนังสือรับรองความเป็นโสดดังกล่าวต้องนำไปผ่านการรับรองของกระทรวงต่างประเทศไอซ์แลนด์ (Utanríkisráðherra) ก่อนนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (ท่านสามารถดูขั้นตอนการรับรองเอกสารทางลิงก์
https://www.government.is/topics/foreign-affairs/consular-affairs/)
คู่สมรสสัญชาติอื่น
หนังสือรับรองความเป็นโสดที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศตามสัญชาติของคู่สมรส ทั้งนี้ หนังสือรับรองความเป็นโสดดังกล่าวต้องผ่านการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตนั้นๆ ในนอร์เวย์หรือไอซ์แลนด์ ก่อนนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงออสโล
- เอกสารเพิ่มเติมในกรณีอื่น ๆ
- กรณีเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ภายใต้กฎหมายไทย จะต้องแสดงเอกสาร ดังนี้
- ทะเบียนหย่า
- ใบรับรองความเป็นโสดหลังหย่า
- กรณีฝ่ายหญิงหย่าขาดมาน้อยกว่า 310 วัน ณ วันที่ยื่นขอจดทะเบียนสมรสใหม่จะต้องนำใบรับรองแพทย์ ระบุว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มายื่นเพิ่มเติม ยกเว้นกรณีจดทะเบียนกับคู่สมรสเดิมไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
- กรณีคู่สมรสเสียชีวิต จะต้องแสดงเอกสาร ดังนี้
- มรณบัตรของคู่สมรสเดิม
- ใบรับรองความเป็นโสด ที่มีมีข้อความระบุว่าหลังจากคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้ทำการสมรสใหม่
- กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ และ/หรือนามสกุล ให้นำเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงชื่อดังกล่าวมาแสดง
- การจดทะเบียนสมรสต้องมีพยาน 2 คน โดยพยานทั้ง 2 คน ต้องแสดงเอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชนของพยานที่มีสัญชาติไทย
- หนังสือเดินทาง
- เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ แล้วแต่กรณี
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
- คู่สมรสจะต้องเตรียมเอกสารตามที่กำหนด (กรุณากดลิงก์เพื่อดาวน์โหลดรายชื่อเอกสารที่ต้องใช้ https://bit.ly/36Ac72B) และส่งสำเนาเอกสารดังกล่าว ให้สถานเอกอัครราชทูตฯ
ตรวจสอบทางอีเมล์ [email protected] กรุณาตั้งชื่อไฟล์ตามชื่อเอกสารและลำดับเอกสารตามที่ปรากฏใน checklist เช่น “1. คำร้องขอนิติกรณ์ 2. แบบฟอร์มทะเบียนสมรส …”
- สถานเอกอัครราชทูตฯ จะใช้เวลาตรวจสอบเอกสารประมาณ 7-14 วันทำการ ในกรณีที่เอกสารไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อาจต้องใช้เวลาในการพิจารณานานขึ้น
- เมื่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ตรวจสอบพบว่าเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว สถานเอกอัครราชทูตฯ จะนัดหมายวันเพื่อให้คู่สมรสและพยานทั้งสองท่านเดินทางมายังสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อนำส่งเอกสารต้นฉบับทั้งหมด และลงนามในเอกสารการจดทะเบียนสมรส ทั้งนี้ ท่านสามารถรับเอกสารการจดทะเบียนสมรสได้ในวันเดียวกันกับที่ท่านลงนามในเอกสาร
- เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว บุคคลสัญชาติไทยจะต้องดำเนินการแก้ไขทะเบียนราษฏรและขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนให้สอดคล้องกับชื่อ-สกุล ภายหลังการสมรส ณ เขต/อำเภอตามทะบียนบ้านไทย พร้อมทั้งทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548
Downloadable Form(s) / Document(s)