บริการด้านกงสุล

บริการด้านกงสุล

4,596 view

การปรับสถานภาพเป็นสมรส / หย่า /หม้าย ในทะเบียนราษฎรของไทย

การยื่นเอกสารเพื่อขอปรับสถานภาพเป็นสมรส /หย่า /หม้าย ในทะเบียนราษฎรของไทย สามารถทำได้ที่เขต หรืออำเภอที่ประเทศไทยเท่านั้น  โดยผู้ร้องยื่นขอด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการให้

 

1. กรณีสมรส / หย่า / หม้าย ตามกฎหมายนอร์เวย์ หรือไอซ์แลนด์แล้ว

  1. ผู้ร้องต้องยื่นขอทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ใบมรณบัตร จากหน่วยงานของนอร์เวย์ หรือไอซ์แลนด์ โดยขอให้หน่วยงานดังกล่าว ออกเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเอกสารใดเป็นภาษาอื่นต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ

    •  หน่วยงานยื่นขอทะเบียนสมรส ของนอร์เวย์ คือ skatteetaten

    • หน่วยงานยื่นขอทะเบียนหย่า ของนอร์เวย์ คือ Statsforvalteren.no

    • หน่วยงานยื่นขอใบมรณบัตร ของนอร์เวย์ คือ Norwegian of Health and Care Services

    • หน่วยงานยื่นขอทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ใบมรณบัตร ของไอซ์แลนด์ คือ www.skra.is


  2. นำทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ใบมรณบัตร ต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ ไปรับรองที่ Notary Public และหลังจากนั้น หากเป็นเอกสารที่ออกโดยทางการนอร์เวย์ ให้นำไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศของนอร์เวย์ (Utenriksdepartementet)หรือหากเป็นเอกสารที่ออกโดยทางการไอซ์แลนด์ ให้นำไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศไอซ์แลนด์ (utanríkisráðherra)

    • ในขั้นตอนนี้ หากต้นฉบับของเอกสารเป็นภาษานอร์เวย์ หรือไอซ์แลนด์ ต้องมีคำแปล เป็นภาษาอังกฤษ และอาจมีคำแปลภาษาไทยด้วย โดยผู้แปลภาษาไทยจะต้องลงชื่อรับรองว่า “คำแปลถูกต้อง” โดยผู้ร้องจะต้องนำต้นฉบับเอกสาร และคำแปลภาษาอังกฤษ (จำเป็นต้องมี) รวมถึงคำแปลภาษาไทย (หากมี)  ไปรับรองที่ Notary Public และกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ (Utenriksdepartementet) หรือกระทรวงต่างประเทศไอซ์แลนด์ (utanríkisráðherra)  

    •  
  3. นำทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ใบมรณบัตร ต้นฉบับ และคำแปลที่รับรองผ่านกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ หรือกระทรวงการต่างประเทศไอซ์แลนด์แล้ว มารับรองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล

      •  
  4. ในกรณีที่ผู้ร้องไปดำเนินการปรับสถานภาพด้วยตนเองที่ประเทศไทย ผู้ร้องจะต้องนำเอกสารที่รับรองผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโลแล้ว ไปรับรองที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ และหลังจากนั้นจึงนำไปยื่นที่เขต / อำเภอ เพื่อขอปรับสถานภาพต่อไป

    ทั้งนี้ หากเอกสารยังไม่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย จะต้องนำไปทำการแปลเป็นภาษาไทย ก่อนนำไปขอรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

  5. ในกรณีที่ผู้ร้อง ไม่สามารถไปปรับสถานภาพด้วยตนเองที่ประเทศไทย ผู้ร้องสามารถขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อให้ผู้แทนที่ประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้ โดยผู้ร้องจะต้องเดินทางมาทำหนังสือมอบอำนาจ และลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ (ต้องเดินทางมาทำด้วยตนเองเท่านั้น) โดยจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจ 3 ฉบับ ได้แก่
    (1) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้แทนนำเอกสารไปแปลเป็นภาษาไทย (หากเอกสารยังไม่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย) (2) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้แทนนำเอกสารไปรับรองที่กรมการกงสุล และ (3) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้แทนไปยื่นขอปรับสถานภาพให้ที่เขต /อำเภอ
  6. หลังจากนั้น ผู้ร้องจะต้องส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับจริง และเอกสารที่รับรองผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ ทั้งหมด ไปให้ผู้แทนเพื่อดำเนินการต่อที่ประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้ร้องจะต้องรับผิดชอบการส่งเอกสารด้วยตนเอง สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีหน้าที่ในการส่งเอกสารของผู้ร้องไปยังประเทศไทย

**************************************

2. กรณีจดทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ยื่นขอมรณบัตร ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล

  1. เมื่อผู้ร้องจดทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / ยื่นขอมรณบัตร ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว จะต้องนำทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / มรณบัตร ที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปยื่นขอปรับสถานภาพ และเปลี่ยนนามสกุล ที่เขต/อำเภอ ที่ประเทศไทย

  2. หากผู้ร้องไม่สามารถไปดำเนินการด้วยตนเองได้ ผู้ร้องสามารถขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อให้ผู้แทนที่ประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้ โดยผู้ร้องจะต้องเดินทางมาทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้แทนเปลี่ยนสถานภาพ และนามสกุลของผู้ร้องที่เขต / อำเภอ และลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ (ต้องเดินทางมาทำด้วยตนเองเท่านั้น)

    หลังจากนั้น ผู้ร้องจะต้องส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับจริง และทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า / มรณบัตร ไปให้ผู้แทนเพื่อดำเนินการต่อที่ประเทศไทย โดยผู้ร้องจะต้องรับผิดชอบการส่งเอกสารด้วยตนเอง สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีหน้าที่ในการส่งเอกสารของผู้ร้องไปยังประเทศไทย

  3. สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับการยื่นเอกสารทางไปรษณีย์ และจะไม่ส่งกลับเอกสารที่มาทางไปรษณีย์ไม่ว่ากรณีใด ๆ รวมทั้งขอสงวนสิทธิ์ในการทำลายเอกสารดังกล่าว หากไม่มีผู้มารับเอกสารคืนภายในระยะเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับเอกสาร (ติดต่อทาง [email protected] เท่านั้น)

**************************************